วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ผลการดำเนินงาน

ผลที่เกิดขึ้นทางตรง
รายรับ
1.  ขายไก่  100  ตัว  น้ำหนักรวม  100  กิโลกรัม  เฉลี่ยตัวละ  1  กิโลกรัม  ในราคา  กิโลกรัมละ  70  บาท  เป็นเงิน  7,000  บาท
2.  ขายมูลไก่ จำนวน 10  กระสอบ ๆ  ละ  25  บาท  เป็นเงิน  250  บาท
รวมรายรับทั้งหมด  7,250  บาท
รายจ่าย
1.  ลูกไก่อายุ  1  วัน  จำนวน  100  ตัว  ตัวละ  10  บาท  เป็นเงิน  1,000  บาท
2.  อาหารไก่เล็ก  5 กระสอบ ๆ  ละ  500  บาท  เป็นเงิน  2,500 บาท
3.  อาหารไก่ใหญ่  3  กระสอบ ๆ  ละ  450  บาท  เป็นเงิน  1,350  บาท
4.  อื่น ๆ  1,120  บาท
รวมรายจ่ายทั้งหมด  7,970  บาท

ผลที่เกิดขึ้นทางอ้อม
ได้รู้จักการวางแผนการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อและมีรายได้ระหว่างเรียน

เทคนิคการดำเนินงานให้โครงการประสบผลสำเร็จ

1.  มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ  โครงการมีอุปกรณ์และโรงเรือนอยู่แล้ว  มีตลาดประจำที่ค่อนข้างแน่นอนไว้วางใจได้
2.  หาความรู้เพิ่มเติมจากครูผู้สอนวิชาต่างๆ ทั้งในแผนกวิชาและนอกแผนกวิชา  จากการ
ดูงาน  หรือจากครูที่ปรึกษา  เลือกครูที่ปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ 
3.  ศึกษานิสัยใจคอของเพื่อนร่วมโครงการ  คัดเลือกสมาชิกหรือเพื่อนร่วมงานที่มีความรับผิดชอบ  ขยันหมั่นเพียร
4.  หาแหล่งสนับสนุนด้านเงินทุนจากวิทยาลัย
5.  ดูความเหมาะสมและความสอดคล้องของตารางการปฏิบัติงานกับตารางเรียน
6.  เขียนแผนธุรกิจเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากโครงการหารายได้ระหว่างเรียน 
7.  ติดต่อประสานงานกับตลาด  (ผู้ซื้อ)  วางแผนการผลิต  ตารางการผลิต  จำนวนและราคาขั้นต้น 
8.  ติดต่อประสานงานกับร้านจำหน่ายอาหารสัตว์  พันธุ์สัตว์เพื่อขอเครดิตสินค้า(เผื่อจำเป็น)  ในที่นี้ผู้ซื้อ  ร้านอาหารสัตว์  ร้านพันธุ์สัตว์เป็นคน ๆ  คนเดียวกัน
9.  สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อ  โดยการผลิตไก่ที่มีคุณภาพ  มีเปอร์เซ็นต์การตายต่ำ

สรุปผล

ผลกำไร- ขาดทุน จากการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ  100  ตัว  เวลา  60  วัน  เป็นเงินขาดทุน  - 720  บาท

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

1.  น้ำล้นรางน้ำทำให้น้ำท่วมคอกไก่  เกิดจากความประมาทเลินเล่อและการเสื่อมของอุปกรณ์ให้น้ำแบบราง  ควรระมัดระวัง  หมั่นซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ให้น้ำที่ชำรุด
2.  หนูกัดกระสอบอาหาร  ควรพยายามกำจัดหนูด้วยวิธีต่างๆ  ตลอดเวลาและทำให้โรงเก็บอาหารสะอาดอยู่เสมอ

3.  ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ   ทำให้ไก่กินอาหารไม่เต็มที่ในเวลากลางคืน ควรเพิ่มความสว่างให้กับคอกไก่
4.อาการเย็นไก่ไม่ค่อยกินอาหารทำให้โตช้า และเสียเวลาในการเลี้ยงต่อทำให้อาหารเพิ่ม
วิธีการดำเนินโครงการ
1.  ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการแบบ  PDCA  เสนอโครงการ
2.  เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ  ดังต่อไปนี้
2.1  เครื่องกก  1 - 2  ชุด  วัสดุรองพื้น  (แกลบหรือขี้กบ)  40 - 50  กระสอบ
2.2  ถาดอาหาร  5  ใบ  ถังอาหาร  25  ใบ  กระป๋องน้ำ  25  ใบ  รางน้ำอัตโนมัติ  จำนวน  2  ราง  เป็นต้น
3.  การดำเนินโครงการ
3.1  สั่งจองลูกไก่  สั่งอาหาร  เตรียมคอก  ขนาด  50  ตารางเมตร  ล้างคอก  ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ  ตากคอกไว้ให้แห้งประมาณ  2  สัปดาห์
3.2  หลังจากฉีดยาฆ่าเชื้อได้  10  วัน  เทวัสดุรองพื้น  เกลี่ยให้หนาประมาณ  1 - 2  นิ้ว 
3.3  ติดตั้งเครื่องกกจำนวน  1 - 2  ชุด
3.4  หลังจากเทวัสดุรองพื้นแล้ว  5  วัน  จึงจะนำลูกไก่เข้าเลี้ยง  เมื่อลูกไก่มาถึง  เปิดไฟเครื่องกก  นำอาหารลูกไก่เล็กใส่ถาด, นำน้ำละลายน้ำตาลใส่กระป๋องน้ำ  (ระยะ  1 - 3  วันแรกที่นำลูกไก่ลงเลี้ยงให้นำก้อนหินใส่ไว้รอบ ๆ  กระป๋องน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่ลงเล่นน้ำ  ซึ่งทำให้ขนลูกไก่เปียกและอาจส่งผลให้ลูกไก่ตายได้)  นับจำนวนลูกไก่  ชั่งน้ำหนักลูกไก่ 
3.5  ให้อาหารเช้า เย็น  ทุกวัน, ล้างกระป๋องน้ำ, ล้างรางน้ำ  (เช้า),
3.6  กลับวัสดุรองพื้น  (เริ่มกลับวัสดุรองพื้นครั้งแรกสัปดาห์ที่ 2 – 3  ต่อไปกลับสัปดาห์ละ  1 - 2  ครั้ง)
3.7  เปิด - ปิด  พัดลม, เปิด ปิดไฟ  เช้า เย็น
3.8  ชั่งน้ำหนักไก่ทุก ๆ  สัปดาห์โดยการสุ่ม  บันทึกผลการชั่งน้ำหนัก
3.9  เปลี่ยนอาหารตามอายุ บันทึกการปฏิบัติงานทุกวัน จับไก่ขายอายุ  42 วัน
4.  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รายจ่าย
     4.1.  ลูกไก่อายุ  1  วัน  จำนวน  100  ตัว  ตัวละ  10  บาท  เป็นเงิน  1,000  บาท
     4.2.  อาหารไก่เล็ก  5 กระสอบ ๆ  ละ  500  บาท  เป็นเงิน  2,500 บาท
     4.3.  อาหารไก่ใหญ่  3  กระสอบ ๆ  ละ  450  บาท  เป็นเงิน  1,350  บาท
     4.4.  อื่น ๆ เช่น ค่าแกลบ ค่าอุปกรณ์ ค่าขนส่ง  1,120  บาท
รวมรายจ่ายทั้งหมด  7,970  บาท

5.  ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
วิธีดำเนินงาน

รูปแบบการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่งานฟาร์มโดยใช้โครงการเป็นฐาน  (Project  Base  Learning. PBL)
1.  ครูผู้สอนสร้างข้อตกลงกับผู้เรียนในเรื่องรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน  (Project  Base  Learning. PBL)
2.  ตอบแบบสำรวจอาชีพที่สนใจในการดำเนินโครงการ
3.  ทดสอบเพื่อประเมินด้านความรู้  สมรรถนะด้านทักษะ  และเจตคติเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ  (ก่อนเรียน)
4.  ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน
5.  เรียนซ่อมเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ
6.  ดำเนินโครงการ
7.  เรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับวิชาภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และวิชาอาหารและการให้อาหารสัตว์  ฯลฯ
8.  ฝึกอบรมการเขียนแผนธุรกิจ
9.  เสริมสร้างทักษะวิชาชีพโดยการไปศึกษาดูงานที่ฟาร์ม 
10.  ทดสอบเพื่อประเมินด้านความรู้  สมรรถนะด้านทักษะ  และเจตคติเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ  (หลังเรียน)
11.  ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ  เป็นผู้เรียนร่วม  เป็นโค้ช  ช่วยแก้ปัญหา  เป็นที่ปรึกษา  คิด/พัฒนาสื่อมาให้ผู้เรียนทำ เป็นผู้จัดหาปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกและลงทุนดำเนินโครงการให้กับผู้เรียน
12.  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนสามารถเป็นผู้คิด เป็นผู้ทำ เป็นผู้แก้ปัญหา เป็นผู้แสวงหาความรู้  ผู้เรียนได้ความรู้ที่ต่างกัน  ผู้เรียนปฏิบัติสร้างผลผลิต  หาข้อมูล  ทดลอง  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  โดยได้รับคำแนะนำจากครูผู้สอนและศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของโครงการ

ความเป็นมาของการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ
      เมื่อปีการศึกษา2559 โรงเรียนบ้านคาละแมะได้ประชุมคณะครูเพื่อคิดและวางแผนการทำโครงการเกษตรตามแนวหลักเศษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 และได้มีมติทำโครงการเลี้ยงไก่เป็นการสนับสนุนอาหารและให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักเศษฐกิจแบบพอเพียง นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้มีทักษะในการดูแลสัตว์เลี้ยง รู้จักปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหารที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นการปูพื้นฐานในการหารายได้แก่ครอบครัวจากประกอบอาชีพ ในอนาคตได้อีกทาง

ความสำคัญ และประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ
๑. นักเรียนมีอาหารที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัยไว้บริโภคในราคาถูก
๒. นักเรียนมีทักษะในการทำงานร่วมกันเป็้นกลุ่ม
๓.นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักเศษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
๔.นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการแก้ปัญาหาจากการลงมือปฏิบัติจริง
๕.นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพในอนาคตได้